วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สนามแม่เหล็ก เรื่องเล็กนิดเดียว

      
























แม่เหล็กทุกชนิดมีสนามแม่เหล็ก  รอบๆแท่ง  และมีแรงแม่เหล็ก กระทำกันระหว่างแม่เหล็ก แท่ง  เนื่องจากแรงปฏิกิริยาภายในสนามแม่เหล็ก วัตถุใดๆที่ถูกทำให้เป็นแม่เหล็กได้  ก็จะกลายเป็นแม่เหล็ก  และจะกลายเป็นแม่เหล็กเมื่อวางไว้ในสนามแม่เหล็ก  การเคลื่อนที่ของประจุ  (ปกติคืออิเล็กตรอน)  ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กเช่นเดียวกัน
Pole :  ขั้วแม่เหล็ก
      เป็นจุดบนแท่งแม่เหล็กซึ่งแรงแม่เหล็กจะปรากฏอย่างเข้ม ที่นั่น แม่เหล็กมี  ขั้ว  ขั้วเหนือและขั้วใต้  (ระบุได้โดยให้แท่งแม่เหล็กวางตัวในสนามแม่เหล็กโลก)  แท่งแม่เหล็กทั้งหมดมีขั้วแต่ละชนิดเท่ากัน  กฎข้อแรกของแม่เหล็กกล่าวว่า  ขั้วต่างกันดูดกัน และขั้วเหมือนกันผลักกัน
Ferromagnetic :  สารแม่เหล็ก
      หมายถึง  วัตถุที่เป็นแม่เหล็กอย่างแรง (ทำให้เป็นแม่เหล็กได้ง่าย )  ได้แก่  เหล็ก  นิเกิล  โคบอลต์ และ สารประกอบของโลหะเหล่านี้  แบ่งเป็นสารแม่เหล็กถาวร  และสารแม่เหล็กชั่วคราว  แม่เหล็กผสมทำด้วยสารแม่เหล็กหลายชนิดดังกล่าว  ทำให้เป็นของแข็งด้วยความร้อนและความกดดัน  สามารถทำให้เป็นแม่เหล็กถาวรมากขึ้น  หรือเป็นสารแม่เหล็กชั่วคราวมากขึ้น  โดยการเปลี่ยนส่วนผสมเป็นของสารที่ใช้
Hard: สารแม่เหล็กถาวร
     เป็นสารแม่เหล็กที่ไม่เสียอำนาจแม่เหล็กง่ายหลังจากถูกทำให้เป็นแม่เหล็กถาวรแล้ว   เช่น เหล็กกล้า  แม่เหล็กที่ทำด้วยสารเหล่านี้เรียกว่า  แม่เหล็กถาวร

Soft :  สารแม่เหล็กชั่วคราว
     เป็นสารแม่เหล็กที่ไม่สามารถรักษาอำนาจแม่เหล็กได้นานหลังจากถูกทำให้เป็นแม่เหล็กแล้ว  เช่น เหล็กธรรมดา  แม่เหล็กที่ทำด้วยสารแม่เหล็กประเภทนี้เรียกว่า  แม่เหล็กชั่วคราว  สภาพแม่เหล็กที่หลงเหลือในสารแม่เหล็กชั่วคราวเรียกว่า  แม่เหล็กตกค้าง



  สนามแม่เหล็ก   คือ ปริมาณที่บ่งบอกแรงกระทำบนประจุที่กำลังเคลื่อนที่ สนามแม่เหล็กเป็นสนามเวกเตอร์และทิศของสนามแม่เหล็ก ณ ตำแน่งใดๆ คือทิศที่เข็มของเข็มทิศวางตัวอย่างสมดุล
        สนามแม่เหล็กนั้นถูกนิยามขึ้นตามแรงที่มันกระทำ เช่นเดียวกับในกรณีของสนามไฟฟ้า ในระบบหน่วย SI 
แรงดังกล่าวนี้คือ


                     
\mathbf{F} = q \mathbf{v} \times \mathbf{B}
         เมื่อ
F คือแรงที่เกิดขึ้น วัดในหน่วย นิวตัน
q คือประจุไฟฟ้า วัดในหน่วย คูลอมบ์
v คือความเร็วของประจุไฟฟ้า วัดในหน่วย เมตรต่อวินาที
B คือความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก วัดในหน่วย เทสลา

เส้นแรงแม่เหล็ก


เส้นแรงแม่เหล็กวิ่งออกจากขั้วเหนือของแม่เหล็กและโค้งเข้าไปยังขั้วใต้
ด้วยนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว เส้นแรงแม่เหล็กไม่
ได้เป็นปริมาณเวกเตอร์ แต่เป็นเวกเตอร์เสมือน 
เท่านั้น แม้ว่าภาพต่างๆ มักจะแสดงเส้นแรงแม่เหล็กด้วยลูกศร แต่เราไม่สามารถแปลความหมายลูกศรนั้นเป็นการเคลื่อนที่หรือการไหลของเส้นสนาม



ความสับสนในการเรียกชื่อขั้วแม่เหล็ก

สิ่งสำคัญที่ควรจำคือ ป้ายขั้วเหนือใต้บนเข็มทิศนั้นเรียกสลับกับขั้วเหนือใต้ของแกนโลก
ถ้าเรามีแม่เหล็กสองอันที่มีป้ายบอกขั้ว ก็ไม่ยากที่จะมองเห็นว่าขั้วเหมือนกันจะผลักกันและขั้วต่างกันดูดกัน แต่การมองแบบนี้ใช้ไม่ได้กับเข็มทิศทั่วไป เพราะสำหรับเข็มทิศแล้ว ด้านที่บอกว่าเหนือชี้ไปทางทิศเหนือไม่ใช่ทิศใต้
เรานิยมเรียกชื่อขั้วของก้อนแม่เหล็กตามทิศที่มันชี้ไป ดังนั้นเราจึงสามารถเรียกขั้วเหนือของแม่เหล็กได้อีกอย่างหนึ่งว่า ขั้วที่ชี้ไปทางเหนือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น